ตำบลป่าชิง

ที่ว่าการอำเภอจะนะ
33 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 90130

ข้อมูลพื้นฐานตำบลป่าชิง 

ประวัติความเป็นมาของตำบล

           ตำบลป่าชิง เป็นตำบลหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอจะนะ  ตั้งมาประมาณ สี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว  เล่าว่า ครั้งนั้นเจ้าเมืองรัฐไทรบุรี คิดแย่งเมืองขึ้นกับเมืองสิงหรานคร (เมืองสงขลา) จึงได้ยกกองทัพมาโจมตีเมืองสิงหรานคร เมื่อเมืองสิงหรานครรับทราบข่าวจึงได้มาจัดคูค่ายไว้คอยรับมือกับข้าศึกจากรัฐไทรบุรี และได้ต่อสู้กับรัฐไทรบุรีที่ตำบลป่าชิง การศึกครั้งนั้น รัฐไทรบุรีแพ้สงคราม ตำบลป่าชิงจึงเป็นค่ายศึกของการต่อสู้ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น  
จากข่าวลือถึงชื่อเสียงของตำบลป่าชิง ว่าเป็นค่ายศึกที่ได้รับชัยชนะ จึงได้มีผู้คนค่อย ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหมู่บ้าน จากเดิมซึ่งเคยรกร้างว่างเปล่า เป็นป่าทึบก็กลายเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่โต มีการจับจองที่ดินตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันห่าง ๆ  มีการบุกเบิกทำไร่บ้าง ทำนาทำสวนบ้าง มีการเดินทางไปมาหาสู่กันโดยมีเส้นทางซึ่งเปลี่ยวมากเพียงเส้นทางเดียว เมื่อนำของมีค่า หรือทรัพย์สินข้าวของติดตัวไปเพื่อแลกเปลี่ยนและจำหน่ายก็จะต้องคอยระวังโจรผู้ร้ายที่คอยปล้นสะดมแย่งชิงอยู่เสมอ ๆ  จนกระทั่งเป็นที่เลื่องลือว่าบริเวณนี้เป็นทางแย่งชิงปล้นสะดมของเหล่าโจรผู้ร้าย และเรียกติดปากกันว่า ป่าชิงมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้ง และ อาณาเขต 

         ตำบลป่าชิง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอจะนะ  ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 6 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาประมาณ 30 กิโลเมตร 
 โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้ 
    - ทิศเหนือ                  ติดต่อกับ        ตำบลคลองเปียะ
    -  ทิศใต้                    ติดต่อกับ        ตำบลคู
    -  ทิศตะวันออก           ติดต่อกับ       ตำบลบ้านนา ตำบลตลิ่งชัน
    -  ทิศตะวันตก             ติดต่อกับ       ตำบลนาหว้า


 เนื้อที่ 

            ตำบลป่าชิง มีเนื้อที่โดยประมาณ  25  ตารางกิโลเมตร   หรือ ประมาณ 15,625 ไร่

ภูมิประเทศ  ตำบลป่าชิง มีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีพื้นที่ราบเนินเขา ประมาณร้อยละ 10  ทำให้เหมาะแก่การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนร่วน 

           ด้านทิศเหนือ เป็นพื้นที่ หมู่ที่ 1 ซึ่งติดต่อกับตำบลคลองเปียะ จะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบและที่ราบเนินเขา เหมาะสำหรับปลูกไม้ผล ยางพารา และทำนาข้าว 
           ทิศตะวันออก เป็นพื้นที่ของหมู่ที่ 2, 6 , 7 และ 8 ซึ่งติดต่อกับตำบลบ้านนาและตำบลตลิ่งชัน สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับการทำนาปี 
           ทิศใต้ เป็นที่ตั้งของหมู่ที่ 9 ซึ่งมีเขตติดต่อกับตำบลคู  สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะกับการทำนาปี และปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน 
           ทิศตะวันตก เป็นพื้นที่หมู่ที่ 2, 4 ,5 ซึ่งติดต่อกับตำบลนาหว้า สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา ปลูกพืชผักและปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน 
ภูมิอากาศ  
           ตำบลป่าชิงตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีลมมรสุมพัดผ่านตลอดทั้งปี คือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม จนถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคมจากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าวทำให้มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิจะสูงสุดในเดือนเมษายน แต่อากาศจะไม่ร้อนมากนัก เพราะได้รับอิทธิพลจากทะเลอ่าวไทย 

การปกครอง  ป่าชิง

แบ่งการปกครองออกเป็น  9 หมู่บ้าน ได้แก่ 
หมู่ที่    1        บ้านป่าชิง    
หมู่ที่    2        บ้านทุ่งพระ 
หมู่ที่    3        บ้านต้นปราง 
หมู่ที่    4        บ้านท่าคลอง 
หมู่ที่    5        บ้านไร่ 
หมู่ที่    6        บ้านไร่ดอนไฟ 
หมู่ที่    7        บ้านสลุด 
หมู่ที่    8        บ้านหัวดินเหนือ 
หมู่ที่    9        บ้านหัวดินใต้

โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่งประกอบด้วย 
โรงเรียนบ้านป่าชิง หมู่ที่ 1 ตำบลป่าชิง
-  โรงเรียนวัดทุ่งพระ หมู่ที่ 2 ตำบลป่าชิง
-  โรงเรียนวัดบ้านไร่ หมู่ที่ 5 ตำบลป่าชิง
โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่งประกอบด้วย
-  โรงเรียนกีญามุดดีน หมู่ที่ 9 ตำบลป่าชิง
-  โรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะ หมู่ที่ 9 ตำบลป่าชิง
ศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง ประกอบด้วย 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลป่าชิง จำนวน 1 แห่ง

จำนวนประชากรทั้งหมด  5,008 คน  แยกเป็น ชาย 2,434  คน  หญิง  2,574  คน

สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด
 จำนวน 3 แห่ง คือ 
หมู่ที่ 1 บ้านป่าชิง ,หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งพระ และหมู่ที่ 5 บ้านไร่

- มัสยิด จำนวน 5 แห่ง คือ 
หมู่ที่ 3 บ้านต้นปราง ,หมู่ที่ 4 บ้านท่าคลอง ,หมู่ที่ 7 บ้านสลุด ,หมู่ที่ 8 บ้านหัวดินเหนือ และหมู่ที่ 9 บ้านหัวดินใต้

ประชากรในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 44.9 คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านป่าชิง
- หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งพระ
- หมู่ที่ 5 บ้านไร่
- หมู่ที่ 6 บ้านไร่ดอนไฟ
ประชากรในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 55.10 คือ
- หมู่ที่ 3 บ้านต้นปราง
- หมู่ที่ 4 บ้านท่าคลอง
- หมู่ที่ 7 บ้านสลุด
- หมู่ที่ 8 บ้านหัวดินเหนือ
- หมู่ที่ 9 บ้านหัวดินใต้

การบริการด้านพื้นฐาน 

สาธารณสุข 
- มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่1 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  

การคมนาคม
ตำบลป่าชิงมีถนนเอเชียตัดผ่านช่วง หาดใหญ่ ยะลา
ถนนหลวง สงขลา นาทวี

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
สถานีตำรวจชุมชนประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง 
ที่พักสายตรวจ 9 แห่ง (ป้อม ชรบ.)

การไฟฟ้า
ตำบลป่าชิงมีและใช้ไฟฟ้าครบทั้ง 9 หมู่บ้าน

 ผลงาน/กิจกรรม


กลุ่มอาชีพที่เข้มแข็งในพื้นที่ตำบลป่าชิง

ลำดับที่

ชื่อกลุ่มอาชีพ

ชื่อ - นามสกุล ประธานกลุ่ม

จำนวนกรรมการ (คน)

จำนวนสมาชิก (คน)

ที่อยู่

กิจกรรม

1

กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์บ้านป่าชิง

นางกันยา แก้วนะ

5 คน

25 คน

ม.1 ต.ป่าชิง

ทำดอกไม้ประดิษฐ์ รับจัดขันหมาก              

2

กลุ่มดอกไม้จันทน์บ้านป่าชิง

นางผกาวรรณ ทองคำ

10 คน

30 คน

ม.1 ต.ป่าชิง

รับจัดพวงหรีด ทำดอกไม้จันทน์

3

กลุ่มแปรรูปอาหารบ้านม้าเงย-โคกม่วง

นางป้อม ขวัญทอง

3 คน

22

ม.1 ต.ป่าชิง

ทำขนมและอาหารไทย

4

กลุ่มส่งเสริมการพัฒนาอาชีพการทำกรงนก บ้านหัวดินเหนือ

นายอานัส วันนิ

10 คน

25

ม.8 ต.ป่าชิง

ทำกรงนก

-กิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่ 
ฝึกอบรมฝีมือแรงงานไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถของภาคบริการและการท่องเที่ยว ฝึกเตรียมเข้าทำงาน 
สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ระหว่างวันที่ 4 มกราคม -1 มีนาคม 2560 โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา 
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านม้าเงย หมู่ 1 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 
กลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน

- โครงการส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนและองค์กรเครือข่ายประจำปีงบประมาณ 2560 
(กิจกรรมฝึกอบรมสานฝันอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้สู่ครอบครัว)
มีทั้งหมด 2 หลักสูตร

1.หลักสูตรการสานจากเส้นพลาสติก ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2560 
ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.9 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คน

2.หลักสูตรการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 
ณ ศาลาอเนกประสงค์ ม.2 ต.ป่าชิง อ.จะนะ จ.สงขลา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คน