บทบาทหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน
บัณฑิตแรงงาน หมายถึง ผู้ที่จบปริญญาตรีและสมัครใจทำงานให้แก่กระทรวงแรงงาน เพื่อให้เกิดสันติสุขด้านแรงงานแก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไปรวมทั้งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้งใน ส่วนภูมิภาคในการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนหรือผู้ใช้ แรงงานที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านแรงงานในพื้นที่
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบัณฑิตแรงงาน
การจัดตั้งบัณฑิตแรงงานอยู่ภายใต้กรอบของวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อจ้างบัณฑิตที่ว่างงานในพื้นที่มาทำหน้าที่เป็นบัณฑิตอาสาและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงแรงงานให้สนองตอบต่อนโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวงแรงงานและของชาติ ตลอดจนถึงภารกิจด้านความมั่นคงของจังหวัดชานแดนภาคใต้
2.เพื่อให้บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานให้อาสาสมัครแรงงานในระดับพื้นที่ตลอด จนเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงานให้อาสาสมัครแรงงาน
3.เพื่อขยายเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานให้กว้างขวางมากขึ้น
4.เพื่อเสริมสร้างบัณฑิตแรงงานให้มีจิตสำนึกรักความสามัคคีต่อประเทศมีสำนึกในการให้และเสียสละเพื่อชุมชนและหมู่บ้านของตนเองรวมทั้งมีจิตสำนึกของความเป็นอาสาสมัคร ตลอดจนถึงตระหนักในภาระ หน้าที่ด้านความมั่นคง ทั้งในระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ
6.เพื่อเป็นสื่อกลาง และเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างรัฐบาลและประชาชนในพื้นที่
7.เพื่อให้บัณฑิตแรงงานและอาสาสมัครแรงงานมีส่วนช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานในระดับพื้นที่
หน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน
ในการดำเนินงานของบัณฑิตแรงงาน กระทรวงแรงงานได้กำหนดหน้าที่ของบัณฑิตแรงงาน ดังนี้
ก. งานด้านข้อมูลแรงงานของบัณฑิตแรงงาน
1. ศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานของตำบลที่บัณฑิตรับผิดชอบ คือ
1.1. สำรวจข้อมูลผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป
1.2. สำรวจข้อมูลผู้ที่อยู่ในวัยกำลังแรงงาน
1.3. สำรวจข้อมูลผู้มีงานทำ
1.4. สำรวจข้อมูลผู้ว่างงาน
1.5. สำรวจข้อมูลผู้รอฤดูกาล
1.6. สำรวจข้อมูลผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกำลังแรงงาน
2. จักทำแผนพัฒนากำลังแรงงานระดับอำเภอที่รับผิดชอบ
ข. งานด้านการนำบริการด้านแรงงานสู่ประชาชน
1. ให้บริการด้านแรงงานของการนำบริการของบัณฑิตแรงงาน
2. ให้ความช่วยเหลือ โครงการ/กิจกรรม/แผน ด้านแรงงานที่บรรจุลงในแผนชุมชน หรือแผนพัฒนาตำบลที่
ค. งานด้านเครือข่ายแรงงาน
1. จัดตั้งอาสาสมัครแรงงานให้ครบทุกหมู่บ้าน และตำบล
2. สรุปผลการดำเนินงานของแกนนำอาสาสมัครแรงงาน ระดับตำบล
ง. งานร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
1. การติดตามและบันทึกระบบฐานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย (นอกภาคเกษตร) ที่นำอุปกรณ์ไปใช้ประโยชน์เพื่อลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้ ปี งบประมาณ พ.ศ. 2553 และ 2554
2. การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนระดับหมู่บ้าน ( พนม.)
3. การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับหมู่บ้าน
จ. ออกหน่วยให้บริการด้านแรงงาน ในกิจกรรมโครงการของจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
ฉ. นำกิจกรรม / โครงการ / แผน ด้านแรงงาน ผลักดันให้บรรจุในแผนงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
ช. การพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซ. การชี้แจงเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน (AEC) ให้ประชาชนในพื้นที่