ตำบลทุ่งพอ

เขียนโดย Kunnitee

 

ประวัติความเป็นมาของตำบลทุ่งพอ

ประวัติความเป็นมาของตำบลทุ่งพอ
            ทุ่งพอ เหตุที่ตั้งชื่อ ทุ่งพอ แปลความหมายพอจะสรุปได้ว่า ทุ่ง มาจากทุ่งที่กว้าง ส่วนพอ มาจากต้นกะพ้อ ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งตระกูลปาล์มลำต้นใช้ทำบ้านเรือนส่วนใบนำมาใช้ทำต้ม (ข้าวเหนียวห่อด้วยใบกะพ้อ)หรืออีกกระแสกล่าวว่า พอ มาจากต้นหลุมพอที่เป็นพืชยืนต้นใช้ลำต้นทำบ้านเรือนหรือเฟอร์นิเจอร์
                                   

สภาพทั่วไป

          ตำบลทุ่งพอเป็นตำบลหนึ่งที่อยู่ใน 9 ตำบลของอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลาซึ่งอยู่ทางทิศใต้ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ

ที่ตั้งและขนาด
            องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอเป็นหน่วยงานบริหารราชการท้องถิ่น ของจังหวัดสงขลา
ตั้งอยู่ในเขตปกครองตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อยได้รับการจัดตั้งยกฐานะจากสภาตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 63.47 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 49,236 ไร่อยู่ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาตามเส้นทางหลวงแผ่นดินสาย 43 , 4085 , 4095 ระยะทาง 110 กิโลเมตร

อาณาเขต

ทิศเหนือติดต่อ ตำบลสะบ้าย้อยและตำบลคูหา อำเภอสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา
ทิศใต้ติดต่อ ตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา
ทิศตะวันออกติดต่อ ตำบลจะแหนและตำบลธารคีรีอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตกติดต่อตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา




จำนวนประชากรของตำบล

     จำนวนประชากรในเขต อบต.  อบต.  10,999 คน แบ่งเป็น ชาย  5,492  คน คิดเป็นร้อยละ   50.17 % และหญิงจำนวน  5,507  คน คิดเป็นร้อยละ  
 49.82 %   จำนวนครัวเรือน  2,169 ครัวเรือน ครัวเรือน 

 

ภูมิประเทศ

        องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอเป็นที่ราบและมีคลองซึ่งมีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้านบางหมู่บ้านเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกยางพารา และผลไม้เช่นทุเรียน ลองกอง ลางสาด เงาะ เป็นต้น

 
ภูมิอากาศ

        องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอมีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตศูนย์สูตร อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี2ฤดู ประกอบด้วย
ฤดูฝน แบ่งเป็นสองช่วง ได้แก่ช่วงรับมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพัดเอาความชื้นจากทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียเข้ามาทำให้มีฝนชุกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึง เดือนตุลาคม อีกช่วงหนึ่งคือรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามา ทำให้มีฝนตกชุกอีกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนเนื่องจากได้รับลมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่ง
เป็นลมที่พัดจากทะเลจีนใต้ทำให้อากาศโดยทั่วไปร้อนและชื้น อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤศจิกายน วัดได้ 27.02 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด วัดได้ 19.20 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิสูงสุด วัดได้ที่ 35.1 องศาเซลเซียส

 
เศรษฐกิจ

          ประชากรส่วนใหญ่ในตำบลทุ่งพอ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพาราเลี้ยงสัตว์ ทั้งประเภทส่วนตัวและรวมกลุ่ม นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้าง อีกด้วย

เขตการปกครอง
          มีจำนวน 8 หมู่บ้าน
          หมู่ที่ 1 บ้านโคกสิเหรง
          หมู่ที่ 2 บ้านสนี
          หมู่ที่ 3 บ้านทุ่งพอ
          หมู่ที่ 4 บ้านโคกตก
          หมู่ที่ 5 บ้านบาว
          หมู่ที่ 6 บ้านเมาะลาแต
          หมู่ที่ 7 บ้านซาว
          หมู่ที่ 8 บ้านโคกออก


ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
การคมนาคม

          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อกับอำเภอและจังหวัดได้ทางเดียว คือ ทางบก มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดระหว่างหมู่บ้านและตำบลข้างเคียง

ทางหลวงแผ่นดิน
- ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4085 จำนวน 1 สายรวมระยะทาง 4 กม.
- ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน จำนวน 1 สายรวมระยะทาง 1 กม.
- ถนนลาดยางภายในหมู่บ้าน จำนวน 3 สายรวมระยะทาง 1.50 กม.
- ถนน คสล.ภายในหมู่บ้าน จำนวน 4 สายรวมระยะทาง 2 กม.
- ถนนหินคลุกภายในหมู่บ้าน จำนวน 1 สายรวมระยะทาง 550 เมตร
- ถนนบุกเบิก จำนวน - สายรวมระยะทาง - กม.
- ถนนดินลูกรังภายในหมู่บ้าน จำนวน 13 สายรวมระยะทาง 13 กม.

 

การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน
การประปา
มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้รับบริการ จำนวน 500 ครัวเรือน


ไปรษณีย์และโทรเลข
การให้บริการด้านไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 5แห่ง


เศรษฐกิจทั่วไป
          อาชีพหลักของประชาชนในพื้นที่ คือการทำสวนยางพารา อาชีพรอง คือ การทำสวน
ผลไม้ภาวะเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ ขึ้นอยู่กับราคายางพาราเป็นสำคัญ
ทั้งการทำยางพาราแผ่น และการจำหน่ายน้ำยางพาราสดโดยมีผู้ปกระกอบการรับซื้อน้ำยางพาราสด และกลุ่มต่าง ๆที่เกิดจากการรวมตัวของประชากรรายได้หลักของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ มาจากทำสวนยางพารารองลงมาเป็นรายได้จากการเกษตร ได้แก่ การทำสวนผลไม้ เช่น ลองกอง ทุเรียน จำปะดะ และเงาะ เป็นต้น และการทำไร่ เลี้ยงสัตว์ทำนา

การเกษตรที่สำคัญ
การเกษตรกรรม

          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ มีผู้ประกอบอาชีพการเกษตร 1,663 ครัวเรือน
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ยางพารา พื้นที่ปลูก 16,500 ไร่ ผลผลิตปีละ 9,900 ตัน มูลค่า 396,000,000 บาท
ลองกอง เนื้อที่ปลูก 1,843 ไร่ ผลผลิตปีละ 730 ตัน มูลค่า 21,900,000 บาท ทั้งนี้ ทั้งยางพารา ลองกอง และจำปาดะมีปลูกทุกหมู่บ้าน

 

การปศุสัตว์
          การเลี้ยงสัตว์ในองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอมีกระจายอยู่ทั่วไปทุกหมู่บ้านโดยส่วน
ใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคและจำหน่ายได้แก่ วัว แพะ ไก่ เป็ด เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงไว้โดยเกษตรรายย่อยนอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก นกเขาชวา

 

เป็นต้น


สภาพทางสังคม
การศึกษา

          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอมีสถานศึกษาอยู่ในการดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 มีสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง ใน 5 แห่งเป็นสถานศึกษาขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 แห่ง โดยจำแนกเป็น
1. โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง
2. โรงเรียนบ้านฉลุง
3. โรงเรียนบ้านบ้านโคกตก
4. โรงเรียนบ้านเมาะลาแต
5. โรงเรียนบ้านตะเคียนทอง
นอกจากนี้ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 4 แห่งได้แก่
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสิเหรง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนะห์เมาะลาแต
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซาว
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมูอาบาดาตีมะมุด
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา จำนวน 1 แห่ง
โรงเรียนตาดีกา จำนวน 10 แห่งและที่อ่านหนังสือพิมพ์ประชาชนหมู่บ้านจำนวน 8 แห่ง

การนับถือศาสนา
          ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ นับถือศาสนาอิสลาม 90 เปอร์เซนต์มีสถานที่ประกอบศาสนกิจ คือ มัสยิด จำนวน 10 แห่ง วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่งดังนี้
หมู่ที่ 1 มัสยิดนูรุลฮูดาและมัสยิดดารุสสลาม                           หมู่ที่ 5 มัสยิดบ้านบาว
หมู่ที่ 2 มัสยิดดารุนนาอีมและมัสยิดสาไหน                             หมู่ที่ 6 มัสยิดนะห์เมาะลาแต
หมู่ที่ 3 มัสยิดดารุลอามานและมัสยิดยามาอาตุลคอยรียะห์          หมู่ที่ 7 สำนักสงฆ์บ้านซาว    วัด/สำนักสงฆ์
หมู่ที่ 4 มัสยิดดารุสสลาม                                                  หมู่ที่ 8 มัสยิดมูอาบาดาตีมะมุด


การสาธารณสุข
          องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอ มีสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ จำนวน 2 แห่งได้แก่สถานีอนามัยบ้านโคกตก มีบุคลากรให้บริการ จำนวน 5 คนโดยมีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้าน และสถานีอนามัยบ้านเมาะลาแตมีบุคลากรให้บริการจำนวน 5 คน โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน


ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพอมีดังนี้
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย ห้วย , ลำธาร จำนวน 2 แห่ง
2. แร่ลิกไนต์